ปั๊มน้ำในบ้าน
ปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสูบน้ำ หรือทำให้น้ำเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง ปัจจุบันปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับบ้านพักอาศัย โดยเฉพาะอาคารชุด หรืออาคารที่มีความสูงหลายชั้น ปั๊มนำ้จะช่วยสูบน้ำขึ้นไปในอาคารเหล่านั้นได้
ปั๊มน้ำทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้า การรู้จักเลือกซื้อ รู้วิธีใช้ และติดตั้งปั๊มน้ำอย่างถูกวิธี จะทำให้ประหยัดน้ำและไฟฟ้า
ปั๊มน้ำแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
1 แบ่งตามลักษณะการขับเคลื่อนน้ำหรือการไหลของน้ำ
1.1 ปั๊มแบบแรงเหวี่ยง (Centrifugal Pump) หรือปั๊มหอยโข่ง โดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง
1.2 ปั๊มแบบโรตารี่ (Rotary Pump) ขับเคลื่อนโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง
1.3 ปั๊มแบบลูกสูบ (Reciprocating Pump) ขับเคลื่อนโดยอาศัยการอัดในกระบอกสูบ
1.4 ปั๊มแบบพิเศษ (Special Pump) เป็นปั๊มที่ไม่สามารถจัดอยู่ในสามแบบข้างต้นได้ เช่น ปั๊มบาดาล (Submersible Pump)
2. แบ่งตามลักษณะการขับดันน้ำ ได้แก่
2.1 ปั๊มทำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Dynamic) ได้แก่ ปั๊มประเภทอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง
2.2 ปั๊มทำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ (Positive Displacement) ได้แก่ ปั๊มน้ำแบบโรตารี่ และแบบลูกสูบ
1. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump)
เป็นปั๊มแบบแรงเหวี่ยงที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเหมาะกับการใช้งานหลายประเภท และดูแลรักษาง่าย ชื่อของปั๊ม ได้มาจากรูปทรงของปั๊มที่เหมือนหอยโข่ง
หลักการทำงานของปั๊มหอยโข่ง คือพลังงานจากไฟฟ้าจะหมุนใบพัด เมือใบพัดเคลื่อนที่ ของเหลวภายในจะไหลจากส่วนกลางไปสู่ส่วนปลายของใบพัด และแรงเหวี่ยงจากใบพัดที่มีความเร็วสูงขึ้นจะส่งน้ำจากปลายของใบพัดเข้าปลายหอยโข่ง ซึ่งเป็นทางออกของน้ำ
2.ปั๊มแบบลูก (Reciprocating Pump)
ปั๊มน้ำชนิดนี้มีการเคลื่อนที่ไปกลับของลูกสูบที่อยู่ในกระบอกสูบ ซึ่งจะสร้างความดันขึ้นเพื่อขับดันน้ำ ปั๊มแบบนี้มีสวิตช์ความดัน ให้ไหลไปได้ แต่การไหลของน้ำจะเป็นช่วงๆ ตามจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกสูบ
ปั๊มที่ใช้ตามบ้านส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่มีถังความดันและตัวปั๊มประกอบรวมกันอยู่ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบตัวปั๊มติดอยู่บนถังความดัน (Pressure Switch) เป็นตัวควบคุมการทำงานซึ่งจะทำงานอัติโนมัติ ปั๊มแบบนี้มักมีขนากเล็ก ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ เหมาะที่จะใช้ปั๊มแบบหอยโข่งซึ่งจ่ายน้ำได้ปริมาณมากกว่าและสามาเลือกความดันได้หลายระดับ
การเลือกปั๊มสำหรับใช้ในบ้านพักอาศัย ควรพิจรณาจากกำลังมอเตอร์ของปั๊มและปริมาณน้ำที่ปั๊มจ่ายได้ โดยขึ้นกับหลักเกณฑ์ ดังนี้
กรณีที่ 1 พิจารณาจากความสูงของท่อน้ำ ระยะความสูงของท่อที่ต่อจากระดับพื้นดินถึงจุดจ่ายน้ำสูงที่สุดของตัวอาคาร
กรณีที่ 2 พิจารณาจากปริมาณน้ำที่ใช้พร้อมกัน และความสูงของอาคาร
การเลือกใช้ปั๊ม
กรณีที่ 1 พิจารณาจากความสูงของท่อน้ำ
ให้พิจารณาข้อมูลของปั๊มที่ออกแบบตามความสูงของท่อส่งน้ำเป็นหลัก เป็นตัวอย่างข้อมูลของปั๊มยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งมีให้เลือกหลายขนาด
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งสูง 2 ชั้น มีคนอาศัยอยู่ 3 คน มีห้องพัก 2 ห้อง
เมื่อพิจารณาข้อมูลข้างต้นแล้ว ควรเลือกปั๊มน้ำรุ่นที่กำหนดความสูงของท่อส่งน้ำเท่ากับหรือสูงกว่าท่อส่งของบ้าน คือเลือกที่ความสูงของท่อส่งเท่ากับ 8 เมตร จะไดเขนากของปั๊มน้ำรุ่น TE -100 ขนาดมอเตอร์ 100 วัตต์ (0.134 แรงม้า) ซึ่งมีปริมาณน้ำส่ง 16 ลิตร/นาที หรือเลือกรุ่น TE – 150 ซึ่งจะมีแรงดันสูงกว่า เพราะมีมอเตอร์ขนาด 150 วัตต์ (0.201 แรงม้า ปริมาณน้ำส่ง 21 ลิตร/นาที ก็ได้ ในกรณีนี้น้ำจะไหลแรงกว่า แต่ปั๊มน้ำกินไฟมากกว่า
กรณีที่ 2 พิจารณาจากปริมาณน้ำที่ใช้พร้อมกันและความสูงของอาคาร
วิธีนี้จะพิจารณากำลังของมอเตอร์เป็นหลัก โดยคาดว่ามีจำนวนก๊อกน้ำที่เปิดใช้พร้อมกันไม่เกิน 6 จุด ดังนั้น ปั๊มน้ำรุ่น TE – 200 ซึ่งมีกำลังมอเตอร์ 200 วัตต์ (0.268 แรงม้า) มีปริมาณน้ำส่ง 28 ลิตร/นาที ระยะส่งท่อน้ำสูงได้ถึง 12 เมตร และใช้ได้ดีกับอาคารสูง 2 ชั้น มีความเหมาะสมมากที่สุด ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 และ 2
การติดตั้ง
การติดตั้งถังเก็บน้ำทำได้ 2 แบบ คือ
- ติดตั้งถังเก็บน้ำอยู่บนพื้นดิน
- ติดตั้งถังเก็บน้ำอยู่ใต้ดิน
การติดตั้งปั๊มน้ำและถังเก็บน้ำทั้ง 2 แบบ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1.ติดตั้งระยะดูดไม่ให้เกิน 9 เมตร
เพื่อให้การสูบน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระยะท่อดูดน้ำจากปั๊มถึงถังเก็บน้ำที่อยู่บนพื้นดิน ไม่ควรเกิน 9 เมตร สำหรับถังเก็บน้ำใต้ดิน ควรให้ปลายท่อดูดน้ำจากก้นถังถึงระดับกึ่งกลางของปั๊มไม่เกิน 9 เมตร เช่นกัน
2.ยึดปั๊มน้ำกับแท่นหรือพื้น
ติดตั้งปั๊มน้ำบนแท่นที่แข็งแรง เช่นแท่นคอนกรีตหรือทำกรอบไม้เพื่อยึดขาปั๊มกับพื้นให้มั่นคงและได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะมีเสียงดังขณะปั๊มทำงานเนื่องจากการสั่นสะเทือน
3. การต่อท่อ
ควรมีข้อต่อน้อยที่สุด เพื่อลดการสูญเสียอัตราการไหลของน้ำ ท่อทางด้านสูบควรมีความลาดเอียง ไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ทุกความยาว 1 เมตร เพื่อให้การสูบน้ำของปั๊มมีประสิทธิภาพดีที่สุด ระวังอย่าให้เกิดรอยรั่วตามข้อต่อไม่ว่าจะเป็นท่อทางด้านสูบหรือด้านส่ง เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มกรณีที่มีการรั่วของท่อด้านส่งหรือท่อที่ต่อไปถึงก๊อกน้ำ จะม่ผลให้ปั๊มทำงานบ่อยครั้ง การรั่วเพียงเล็กน้อยถึงแม้เป็นเพียงหยดน้ำเล็กๆ ก็มีผลทำให้ความดันในเส้นท่อลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิตช์ความดันจะสั่งงานให้ปั๊มทำงาน ดังนั้น หลังจากวางระบบท่อแล้ว ควรทดสอบการรั่วของท่อโดยการอัดน้ำเข้าท่อ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากความดันในปั๊มน้ำไม่มีการลดลงก็แสดงว่าระบบท่อไม่รั่ว
สำหรับการสูบน้ำจากบ่อ การต่อท่อด้านสูบของปั๊มน้ำที่ต้องจุ่มปลายท่อลงในบ่อน้ำ ควรใส่ฟุตวาล์ว (Foot Valve) และตัวกรองน้ำไว้ที่ปลายท่อสูบด้วย เพื่อกรองเศษใบไม้ เศษหิน และ เศษดิน ไม่ให้เข้าไปอุดตันในปั๊มน้ำ และฟุตวาล์วยังป้องกันน้ำในท่อไหลย้อยกลับไปในบ่อน้ำขณะที่ปั๊มหยุดทำงาน ฟุตวาล์วควรอยู่สูงจากก้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผงหรือตะกอนถูกสูบขึ้นมา
4. การติดตั้งถังเก็บน้ำ
สำหรับบ้านพักอาศัยทีมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น จะติดตั้งถังเก็บน้ำแบบบนดินหรือใต้ดินก็ได้ แต่ถ้าเป็นอาคารสูงกว่า 3 ชั้น ควรจะเพิ่มถังเก็บน้ำไว้ที่ชั้นบนสุดของอาคาร แล้วปั๊มน้ำจากระดับพื้นดินขึ้นไปเก็บเพื่อนำไปใช้ตามจุดใช้น้ำแต่ละชั้นของอาคารต่อไป
การประหยัดพลังงาน
ปั๊มน้ำทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานอีกชนิดหนึ่ง การใช้ปั๊มน้ำอย่างประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ความเหมาะสมของตัวถังความดัน (Pressure Tank)
ควรเลือกซื้อปั๊มน้ำที่มีถังความดันใหญ่พอสมควร ถ้าถังความดันมีขนาดเล็กเกินไป สวิตช์อัตโนมัติต้องทำงานบ่อยขึ้น เป็นผมให้มอเตอร์ต้องทำงานมากขึ้น และใช้พลังงานไฟฟ้ามากตามไปด้วย ชึ่งการเลือกถังความดันอย่างเหมาะสมจะต้องพิจรณาจากปริมาณน้ำที่ใช้
2. ควรสร้างบ่อพักน้ำหรือติดตั้งถังเก็บน้ำในระดับพื้นดิน
เพื่อปล่อยน้ำประปาลงไปในบ่อหรือถังเก็บน้ำอย่างถูกต้องตามกฏหมายและช่วยประหยัดพลังงานด้วย เพราะปั๊มน้ำจะทำงานเมื่อมีการใช้น้ำเท่านั้น
3 ใช้สวิทช์อัตโนมัติ
สำหรับระบบที่ถังเก็บน้ำอยู่ในที่สูงและปล่อยน้ำลงมา ควรสูบน้ำขึ้นไปในถังให้เต็มแต่อย่าล้น เมื่อใช้น้ำจนเกือบหมดหรือระดับที่เหมาะสมจึงสูบขึ้นไปใหม่ โดยใช้สวิทช์อัตโนมัติช่วยเปิดและปิดปั๊มน้ำ เพราะการสูบน้ำจะกินไฟมาตอนเริ่มเดินมอเตอร์
4. บำรุงรักษาปั๊มน้ำ
4.1 เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นปะเก็น ซีล และลูกยางจะสึก ทำให้ประสิทธิภาพการสูบน้ำลดลง จึงควรตรวจสอบและแก้ไขซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ เช่น สังเกตการรั่วไหลของน้ำที่ซีล เป็นต้น
4.2 ตรวจสอบสายพานที่เชื่อมระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้าและตัวปั๊มน้ำ ไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป
4.3 ทำความสะอาดถังความดันเป็นครั้งคราว ถ้ามีตะกอนมากอาจเกิดการอุดตัน
สรุป
ปัจจุบันปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับบ้านพักอาศัย โดยเฉพาะบ้านพักอาศัยในตัวเมืองใหญ่ๆ จนแทบจะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้คู่กับการใช้น้ำประปา จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อ ติดตั้งและบำรุงรักษาอย่าถูกวิธี นอกจากนี้การใช้น้ำอย่างประหยัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยประหยัดทั้งค่าน้ำและค่าไปไปด้วยพร้อมๆกัน
บทความจาก
วรสาร รู้ “รักษ์พลังงาน”
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ)
กระทรวงพลังงาน